องค์ประกอบทางคอมพิวเตอร์
เมนบอร์ด
(Mainboard)
เมนบอร์ด
(Mainboard) คือ
ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด
(Mainboard)
นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX
(Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ
(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
และล่าสุดนี้มีการพัฒนาแบบ BTX
(Balance Technology Extension) ได้นำพัดลมมาไว้ด้านหน้าเคสเพื่อนำลมเย็นเข้าไปภายในระบบและนำซีพียู
(CPU)มาไว้ด้านหน้าเครื่องเพื่อรับสมเย็นโดยตรง
ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมที่มีความเร็วรอบสูงและเสียงดัง
ปัจจุบันเมนบอร์ดแบบ
BTX ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น
เคส ฮัตซิงค์ เป็นต้น
นอกจากเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX (Advance
Technology Extension) ปัจจุบันยังมีเมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กเพื่อความบันเทิงหรือ HTPC และเคสก็ออกแบบมาอย่างเหมาะสมเพื่อวาง LCD
TV ตัวเมนบอร์จึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย
เมนบร์ดบอร์ดลักษณะนี้จะรวมทุกอย่างไว้บนเมนบอร์ดและมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น
HTPC เมนบอร์ด mini itx
เมนบอร์ด
ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย
พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ก็คือ
ตำแหน่งหัวต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะอยู่ด้านหลังเมนบอร์ด
(Mainboard) โดยหัวต่อเหล่านี้ใช้ต่อกับอุปกรณ์อย่างเช่น
คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ที่จะนำมาต่อใช้งานร่วมกับคอมพิิวเตอร์
ซึ่งลักษณะของหัวต่อจะแตกต่างกันออกไป ไม่ต้องกังวลว่าเราจะเสียบผิด
เนื่องจากหัีวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานอยู่แล้ว อีกทั้งมีสีที่แตกต่าง เพื่อให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ทำได้ง่ายขึ้น
หัวต่อสวิตช์ควบคุม
หัวต่อสวิตช์ควบคุม ช่องสำหรับเสียบสายสวิตช์ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือตำแหน่งของสายจะอยู่ด้านหน้าเคส
(Case) เพื่อใช้ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ถ้าหากใครเคยประกอบคอมพิวเตอร์มาก่อนจะทราบดี
และยังใช้ในการรีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์
รวมไปถึงหลอดไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่องและฮาร์ดดิสก์
ลักษณะของหัวต่อจะมีขนาดเล็กอาจต้องใช้ความระมัดระวังในการต่อ
ชิปรอมไบออส (ROM
BIOS) เป็นหน่วยความจำแบบรอม
(ROM :Read
Only Memory)ที่บรรจุโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เอาไว้
โดยไบออส (BIOS
:Basic
Input Output System)จะทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อที่จะได้เริ่มกระบวนการในการเปิดเครื่องได้อย่างถูกต้อง
ถ้าหากชิปรอมไบออส (ROM BIOS)ตรวจพบความผิดปกติของอุปกรณ์
ก็จะส่งเสียงเป็นรหัสออกทางลำโพงของเครื่อง (Speaker)ซึ่งจะเป็นลำโพงเล็กๆที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด (Mainboard) ลักษณะของเสียงที่ส่งออกมาจะเป็นเสียงปี๊บๆสั้นยาวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความผิดปกติของอุปกรณ์
วงจรชิปไบออส จะต้องมีแบตเตอร์รี่เพื่อทำหน้าที่บันทึกค่าการทำงานของไบออส
เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ตั้งสูญหายไปเมื่อปิดเครื่อง
และใช้จ่ายไฟให้กับวงจรนาฬิกาในไบออสเพื่อให้นาฬิกาของเครื่องเดินตามปกติ
หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ
(Power Supply)
จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือหัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ด (Mainboard) ทุกรุ่นนั้นต้องมี เป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด (Mainboard) เมื่อก่อนหัวต่อ ATX จะเป็นแบบ 20 ช่อง(2 แถว แถวละ 10 ช่อง) ปัจจุบันจะเป็น 24 ช่อง(2 แถว แถวละ 12 ช่อง)โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้น
จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือหัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ด (Mainboard) ทุกรุ่นนั้นต้องมี เป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด (Mainboard) เมื่อก่อนหัวต่อ ATX จะเป็นแบบ 20 ช่อง(2 แถว แถวละ 10 ช่อง) ปัจจุบันจะเป็น 24 ช่อง(2 แถว แถวละ 12 ช่อง)โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้น
หัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อชนิดนี้จะเพิ่มการจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวต์ขึ้นมาซึ่งเมนบอร์ด(Mainboard)ทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้ว
หัวต่อของไดรว์ต่าง จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ด้วยกัน
คือหัวต่อสำหรับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์หรือเรียกง่ายๆ โบราณๆ ก็ แผ่นดิสก์นั่นแหละครับ
อย่างที่สองคือหัวต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์
(Harddisk)และไดรว์CD/DVD หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์มีจำนวนขา 34
ขา(เข็มที่จะไม่มีนะครับเค้าทำเพื่อป้องกันการเสียบผิดนั่นเอง)ใช้เชื่อมต่อกับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ส่วนหััวต่อฮาร์ดดิสก์
(Harddisk)และไดรว์ CD/DVD ปัจจุบันนิยม 2 แบบคือ
หัวต่อแบบ
IDE มีลักษณะเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
แต่มีจำนวนเข็ม 40 ขา (เข็มที่ 20 จะไม่มี) เมนบอร์ด(Mainboard)รุ่นใหม่จะมีหัวต่อแบบ
IDE มาเพียงช่องเดียว
เนื่องจากความนิยมที่ลดน้อยลง แต่ละหัีวต่อจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ 2
ตัวขนานกันในสายเพียงสายเดียว การเชื่อมต่อแบบ IDE นี้เรียกว่า
เอทีเอแบบขนาน (Parallel
ATA)
หัวต่อแบบ
Serial
ATA (SATA) มีขนาดเล็กกว่าแบบ IDE การรับ/ส่งข้อมูลจะใช้การต่อแบบอนุกรม
การเชื่อมต่อแบบ Serial
ATA (SATA) มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่าคือ
150 MB/s
ปัจจุบัน Serial
ATA (SATA) ได้รับการพัฒนาให้มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลให้สูงขึ้นถึง
300 MB/s
และ
600 MB/s
กันเลยทีเดียว
สล็อต
PCI
(Peripheral Component Interconnect)
เป็นสล็อตขนาดเล็กอยู่บนเมนบอร์ด (Mainboard) ซึ่งมีความแตกต่างจากสล๊อต PCI Express x16 ที่เป็นสล๊อตสำหรับการ์ดจอ (Graphic Card Slot)ทำงานที่ความเร็ว 33 MHz และส่งข้อมูลที่ 32 บิต ทำให้มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 133 MB/s สล๊อต PCI ทำหน้่าที่สำหรับติดตั้งการ์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น
เป็นสล็อตขนาดเล็กอยู่บนเมนบอร์ด (Mainboard) ซึ่งมีความแตกต่างจากสล๊อต PCI Express x16 ที่เป็นสล๊อตสำหรับการ์ดจอ (Graphic Card Slot)ทำงานที่ความเร็ว 33 MHz และส่งข้อมูลที่ 32 บิต ทำให้มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 133 MB/s สล๊อต PCI ทำหน้่าที่สำหรับติดตั้งการ์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น
สล็อตของการ์ดจอ
(Graphic Card
Slot)
คือ สล็อตที่ใช้สำหรับใส่การ์ดจอบนเมนบอร์ด(Mainboard) หลักๆ มีอยู่ 2 แบบ คือ AGP(Accelerate Graphic Port) และสล็อต PCI Express x16 ลักษณะของทั้ง 2 สล็อตนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะนิยมใช้สล็อต PCI Express x16 ทั้งหมดแล้ว เพราะว่าประสิทธิภาพในการรับ/ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่า AGP 8x ถึง 2 เท่า
คือ สล็อตที่ใช้สำหรับใส่การ์ดจอบนเมนบอร์ด(Mainboard) หลักๆ มีอยู่ 2 แบบ คือ AGP(Accelerate Graphic Port) และสล็อต PCI Express x16 ลักษณะของทั้ง 2 สล็อตนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะนิยมใช้สล็อต PCI Express x16 ทั้งหมดแล้ว เพราะว่าประสิทธิภาพในการรับ/ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่า AGP 8x ถึง 2 เท่า
Slot AGP 8x
ซ็อกเก็ตแรม
(RAM
Socket)
คือ ช่องที่ไว้สำหรับใส่แรม
(RAM
:
Random Access Memory) ซึ่งจะถูกติดตั้งไว้บน เมนบอร์ด
(Mainboard) ซึ่งซ๊อกเก็ตแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันออกไป
สังเกตได้จากรอยบาก ซึ่ง เมนบอร์ด
(Mainboard)แต่ละตัวจะรองรับแรม (RAM
:
Random Access Memory) ที่ไม่เหมือนกัน ต้องสังเกตว่าเมนบอร์ดที่ซื้อนั้นใช่ซ๊อกเก็ตแรมแบบไหน
ปัจจุบันก็มีตั้งแต่รุ่นเก่า คือ SDRAM ไปจนถึงแรม
(RAM
:
Random Access Memory) DDR
, DDR2 และ DDR3
ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU
Socket)
เป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้ง
ซีพียู
(CPU) รูปแบบซ็อกเก็ตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู (CPU)
การซื้อเมนบอร์ด (Mainboard)มาใช้งานนั้นจึงต้องตรวจสอบว่า เมนบอร์ด (Mainboard)ที่เราซื้อนั้นใช้กับซีพียู
(CPU) ตัวไหน
ในปัจจุบันที่นิยมกันจะมี 4 แบบ คือ LGA 775 สำหรับ Core
2 ,Socket
AM2+/AM3 สำหรับ AMD ตลอดจน LGA
1366 ของ Core
i7 และ
LGA
1156 สำหรับ Core
i3/i5
Socket
LGA 1156
เมนบอร์ด (Mainboard) นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน
อาทิ มาเธอร์บอร์ด (motherboard),
ซิสเต็มบอร์ด
(system board), ลอจิกบอร์ด
(logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า
โมโบ (mobo) ซึ่งเป็นคำย่อจาก
motherboard
เมนบอร์ด
คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์
เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง
ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ
ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร
มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์
เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ
โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
การพัฒนาของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ
ATX
(Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
– PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
– AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
– ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
– ETX ใช้ใน embedded systems
– LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA
– WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
เกร็ดความรู้.NET
เพื่อการศึกษาหากผิดพลาดประการใด จึงเรียนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
จัดทำโดย อัจฉริยา เเซ่หวุ่น
นักศึกษาเเผนกคอมพิวเตอร์กราฟฟิค
วิทยาลัยอาชีวธนบุรี ปวส.1
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น